Ichinoe Sakaigawa Shinsui Park
Ichinoe Sakaigawa Shinsui Park
Ichinoe Sakaigawa Shinsui Park
Ichinoe Sakaigawa Shinsui Park
Address:
1 Ichinoe, Edogawa 132-0024, Tokyo Prefecture
Attraction Location
Ichinoe Sakaigawa Shinsui Park Videos
สวนสาธารณะริมน้ำ ประเทศญี่ปุ่น
สวนสาธารณะริมน้ำ ประเทศญี่ปุ่น
การศึกษาดูงานสวนสาธารณะริมน้ำอิจิโนเอะ ซาไกกาวะ (Ichinoe Sakaigawa Shinsui Park) เจ้าหน้าที่ประจำจุดนี้อธิบายว่า ความยาวลำน้ำ 3.2 กม. เราอยู่ต้นน้ำพร้อมแสดงภาพเปรียบเทียบคูคลองเดิมและปรับปรุงเป็นสวนแล้ว เดิมมีการทิ้งน้ำเสียลงคลองเมื่อปรับปรุงได้แยกวางท่อน้ำทิ้งไม่ให้ปล่อยลงลำคลองเช่นเดิม ซึ่งน้ำเสียมีระบบบำบัดก่อนปล่อยลงลำน้ำ
ต้นน้ำมาจากแม่น้ำชินนากะกาวะ (Shin-Nakagawa River) ไหลลงแม่น้ำชินกาวะ (Shinkawa River) มีปั๊มน้ำหมุนเวียนตลอดสาย 4 แห่ง ที่นี่ปรับปรุงสร้างสวนสาธารณะริมน้ำเป็นสายสุดท้ายแห่งที่ 5 (แห่งแรกที่สวนสาธารณะริมน้ำฟูรูกาวะ) แนวคิดการปรับปรุงคือให้มีระบบนิเวศเหมือนจริง ปัจจุบันมีปลาคาร์ฟ (Fancy Carp / Koi / Nishikigoi) และปลาชนิดอื่นๆ กุ้งแม่น้ำตัวเล็กๆ ปู เต่า และนกเป็ดน้ำ เป็นต้น มีบริเวณให้เด็กเล่นน้ำ เฉพาะฤดูร้อนใช้ปั๊มน้ำหมุนเวียนเพิ่มเติมน้ำจากแม่น้ำ การไหลของน้ำต้องใช้ปั๊มช่วยเนื่องจากเมืองเอโดกาวะเป็นที่ราบต่ำค่อนข้างเสมอกัน มีอาสาสมัครช่วยทำความสะอาด มีกิจกรรมให้เด็กได้ศึกษาสิ่งมีชีวิตในลำน้ำ (ไทยมีกิจกรรมนี้เช่นกันเรียกว่า นักสืบสายน้ำ ซึ่งชนิดและจำนวนแมลงเป็นดัชนีคุณภาพน้ำ– ผู้เขียน)
คณะเราเดินศึกษาข้างริมน้ำอีกฝากเป็นถนนรถยนต์ ลำน้ำเลียนแบบธรรมชาติกว้างประมาณ 2-3 ม. มีแนวปักท่อนไม้กลม เรียงก้อนหิน และปลูกพืชอื่นๆ ริมน้ำเป็นระยะๆ สำหรับอนุบาลและหลบภัยของ สัตว์น้ำเล็กๆ มีต้นไม้น้อยใหญ่บางช่วงปล่อยตามธรรมชาติ บางช่วงมีการตกแต่งพันธุ์ไม้และตัดแต่งเป็นระเบียบเรียบร้อย บางแห่งร่มครึมมากมายด้วยแมกไม้ บางแห่งเปิดโล่งโปร่งแสงแดดส่องสว่างเป็นลานมี ม้านั่งพักผ่อน
ข้างทางมีพื้นที่หนึ่งเป็นป่าหญ้าต้นซาซะอนุรักษ์จิ้งหรีด (Kantan / Cricket Village) ไว้เพื่อฟังเสียงร้องศัพท์สำเนียงธรรมชาติ นอกเหนือจากเสียงนกร้องและน้ำไหลผ่านซอกหิน บริเวณเด็กเล่นน้ำจะไม่มีพืชในน้ำมีแต่พื้นและโขดหิน มีศาลาหลังคาโปร่งขั้นบันไดลงน้ำ พร้อมฝักบัวอาบน้ำล้างตัวกลางแจ้ง (มีอาคารควบคุมคุณภาพน้ำคร่อมลำน้ำก่อนบริเวณเด็กเล่นน้ำนี้) ส่วนบริเวณอื่นปล่อยให้มีพืชน้ำตามธรรมชาติที่ขึ้นได้เอง
อาสาสมัครมีสองประเภท คือ อาสาสมัครทั่วไป (จิตอาสาไม่มีค่าจ้าง) และอาสาสมัครผู้สูงอายุเกษียณแล้วได้รับค่าจ้างโดยมีผู้บริจาคผ่านเทศบาลตำบลเอโดกาวะ มีการอบรมฝึกสอนตัดแต่งต้นไม้ หญ้า และเก็บขยะ ส่วนหนึ่งเป็นเจ้าของบ้านที่อยู่ติดสวนสาธารณะริมน้ำด้วย
ตลอดสายน้ำที่คณะเราเดินศึกษาดูงานนี้ระหว่างทางมีสะพานหรือถนนข้ามผ่านเป็นระยะๆ ที่เข้าออกบ้านจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยพื้นทางเดิน ถนน และสะพานทางเข้าออกราบเรียบเสมอกันสะดวกทั้งการเดิน ล้อเลื่อนคนพิการ จักรยาน และรถยนต์ มีป้ายสื่อความหมายต่างๆ อาทิ ชื่อต้นไม้ ระวังจักรยาน เด็กเล่นน้ำ และกายบริหารออกกำลัง เป็นต้น มีห้องน้ำและก๊อกน้ำประปาสาธารณะด้วย
หมายเหตุ
1. เอโดกาวะ (Edogawa City) เป็นเมืองในกรุงโตเกียวที่ผ่านประสบการณ์น้ำเน่าเสียจากขยะและน้ำทิ้งครัวเรือน/อุตสาหกรรม ถมคูคลองสร้างถนนขึ้นแทนตามความเจริญและคมนาคมที่เปลี่ยนไป ต่อเมื่อประชาชนเรียกร้องให้คงคูคลองไว้จึงร่วมมือกันปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่ริมน้ำสีเขียวแห่งแรกของญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1973 และเป็นเลิศในระดับประเทศของญี่ปุ่นด้านการจัดภูมิทัศน์ในเมืองด้วยการปลูกต้นซากุระ (Sakura / cherry blossoms) 1,000 ต้นสองฝากฝั่งแม่น้ำ
เอโดกาวะมีเนื้อที่ 49.09 ตร.กม., ประชากร 691,514 คน, มีต้นไม้ริมถนน 1,082,988 ต้น, ถนน 778 สาย 1,055 กม., มีพื้นสีเขียวข้างถนนยาว 256 กม. 366,880 ตร.ม. (เมษายน 2017) ลักษณะโดดเด่นของเอโดกาวะคือพื้นที่สีเขียว 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) สวนสาธารณะริมน้ำ (Shinsui Park) 5 แห่ง (9,610 ม.) 2) ทางเดินสีเขียวริมน้ำ (Shinsui Green Path) 18 สาย (17,680 ม.) และ 3) พื้นที่สีเขียวริมแม่น้ำ (Shinsui River) 2 สาย (8,500 ม.) โดยนัย Shinsui Park = friendly-water park (สวนสาธารณะที่เป็นมิตรกับสายน้ำ-ผู้เขียน) ต้นไม้ประจำเมืองเอโดกาวะคือต้นการบูร (camphor tree / Cinnamomum camphora)
เอโดกาวะ เริ่มรณรงค์พัฒนาพื้นที่สีเขียวตามลำน้ำเมื่อปี 1969 ในปี 1970 มีคำขวัญว่า “In abundant feeling, green” (ความเขียวขจีสร้างความอิ่มเอิบใจ-ผู้เขียน) และปี 1972 สำรวจแจงนับจำนวนต้นไม้ กำหนดเป้าหมายให้มีต้นไม้ 10 ต้น และพื้นที่สีเขียว 10 ตร.ม./ประชากร 1 คน
2. “สวนสาธารณะริมน้ำ ประเทศญี่ปุ่น” นี้เป็นบทความส่วนหนึ่งของการไปเที่ยวดูต้นไม้ใหญ่และพื้นที่สีเขียวประเทศญี่ปุ่นนี้ จัดโดยเครือข่ายเชียงใหม่เขียวสวยหอม ระหว่างวันที่ 11-19 มีนาคม 2561 คณะศึกษาดูงานส่วนใหญ่เป็นคณะทำงานเกี่ยวกับต้นยางนาถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน จำนวน 14 คน โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ฮามาโน ชิคะยาซึ (Professor Dr.Hamano Chikayasu) มหาวิทยาลัยเกษตรกรุงโตเกียว (Tokyo University of Agriculture หรือ Nodai) พาศึกษาดูงาน และคุณมาริ ซากาโมโต (Miss Mari Sakamoto) ทำหน้าที่ล่ามแปลภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย)
ขอขอบคุณ : เพลงประกอบ~旅愁(更け行く・・・)~ 由紀さおり・安田祥子
ไปเที่ยวญี่ปุ่น ข้าวกล่องเบนโตะ (Bento) และพิพิธภัณฑ์เมืองเอโดกาวะ (Edogawa)
ไปเที่ยวญี่ปุ่นนี้เป็นการเก็บตก จากการไปศึกษาดูงานต้นไม้ใหญ่และพื้นที่สีเขียวซึ่งจัดโดยเชียงใหม่เขียวสวยหอม ระหว่างวันที่ 11-18 มีนาคม 2561 สําหรับตอนนี้คือข้าวกล่องเบนโตะ (弁当 : Bento) อาหารกลางวันที่เทศบาลเอโดกาวะ (Edogawa) กรุงโตเกียว หลังฟังบรรยายข้อมูลและชมนิทรรศการพื้นที่สีเขียว (Waterside and Greenery) โดยมีนายนาโอมาซะ ทาชิฮาระ (Mr.Naomasa Tachihara) ผู้อำนวยการกองโยธาธิการ และคุณมิโยะ ทากะ (Ms.Miyo Taga) เจ้าหน้าที่ส่วนจัดการริมน้ำและพื้นที่สีเขียว ให้เกียรติมาร่วมทานอาหารกลางวันด้วย
ข้าวกล่องเบนโตะเหมาะต่อการพกพาไปเรียน ไปทำงานนอกบ้าน หรือระหว่างการเดินทาง (ทำนอง Lunch Box ของอเมริกา หรือปิ่นโตของไทย) ประกอบด้วยอาหาร 4 ส่วน คือ ข้าว กับข้าว (เนื้อ ปลา ฯลฯ) ผักต้ม และผักดองหรือขนมหวาน เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของความรักและความห่วงใย ภรรยาต่อสามีที่เตรียมอาหารกลางวันใส่กล่องไปทำไร่ไถนาในชนบทหรือสำนักงานในเมือง และพ่อแม่ต่อลูกๆ ไปทานที่โรงเรียน อีกทั้งเป็นสื่อแทนรักของหญิงสาวต่อชายหนุ่มที่มอบให้ด้วยความพิถีพิถันของรสชาติสีสันและการจัดเรียงอาหาร เบนโตะจึงเป็นงานศิลป์ของอาหาร รวมทั้งกล่องข้าว ตะเกียบ และผืนผ้าการห่อมัดกล่องข้าว เบนโตะจึงสะท้อนเรื่องวัฒนธรรมการกิน การใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นที่น่าสนใจ
เมื่ออิ่มแล้วคุณมิโยะฯ ได้นำทุกคนพนมมือก้มไหว้ลงพร้อมกล่าวคำว่า “โกะจิโซซะมะ เดะชิตะ” (gochisousama deshita / ขอบคุณสำหรับอาหาร/ขอบคุณที่เลี้ยงอาหาร) (ก่อนทานอาหารธรรมเนียมญี่ปุ่นจะพูดว่า “อิตะดะคิมัส” (Itadakimasu) / ทานอาหารแล้วนะครับ/ค่ะ) เป็นที่ประทับใจของทุกคนที่ร่วมในบรรยากาศสถานที่ การสนทนา และธรรมเนียมปฏิบัติกับเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นสำหรับอาหารมื้อนี้
จากนั้นชมพิพิธภัณฑ์การพัฒนาเมืองเอโดกาวะตั้งแต่โบราณ เกี่ยวกับวิถีชีวิต ประเพณี พัฒนาการของใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย จากชนบทเมืองชายทะเลสู่ความเป็นเมืองทันสมัยที่สุดเมืองหนึ่งของโลกด้วยใกล้ศูนย์กลางความเจริญในกรุงโตเกียว
ช่วงบ่ายเทศบาลตำบลเอโดกาวะได้จัดบริการรถบัสขนาดใหญ่ พร้อมเจ้าหน้าที่ประจำ คือ คุณมิโยะฯ และเจ้าหน้าที่อีก 3 คน เดินทางไปกับคณะเราด้วย โดยไปศึกษาดูงาน 3 แห่ง คือ การปรับปรุงสภาพดินใต้ต้นการบูรหน้าศูนย์วัฒนธรรมเอโดกาวะ สวนสาธารณะริมน้ำอิจิโนเอะ ซาไกกาวะ (Ichinoe Sakaigawa Shinsui Park) และการปลูกต้นซากุระ 1,000 ต้นสองฝั่งแม่น้ำชินกาวะ (Shinkawa Promenade with 1,000 Cherry Trees Plan) (รายละเอียดดู “ไปเที่ยวดูต้นไม้ใหญ่และพื้นที่สีเขียวประเทศญี่ปุ่น” ตอนที่ 4/1 และ 4/2 Edogawa ความสำเร็จในการพัฒนาแม่น้ำคูคลองให้เป็นพื้นที่สีเขียว)
Placing a Geocache
Recently I took the next step in geocaching: creating and placing my own geocaches.
This cache is one of a series of 12 that another GCer and I decided to collaborate on, in order to get people ootnaboot on this lovely 3.8km Ichinoe Sakaigawa Shinsui Koen Waterpark.
This river is a natural river that was used for several hundred years by the locals. The river was clear and clean at the time, and was used as drinking water, as well as transport of goods from the Edogawa River to the ShinNakagawa River which connects into the Arakawa River. It allowed the Shogun to get the things they needed much more readily than over land.
As time went by, and the population increased, the river became overused and polluted.
Recently, the city of Tokyo decided to clean this river up and make it a park for the locals to enjoy.
These days you can stroll along it and see many varieties of plants and animals. The water is clean enough such that the school children can play in it (pee in it?) in summer. There are even areas made specifically for this purpose (playing, not peeing).
This Shinsui Park is one of three in the Edogawa Ward that were cleaned up and designated as parks for the citizens to enjoy.
More Attractions in Edogawa